ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2555 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนค่อนข้างใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย แต่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล นับว่าเป็นฤดูที่ค่อนข้างมีกิจกรรมของพายุมากนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยฤดูกาลนี้มีพายุโซนร้อน 25 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 14 ลูก และในจำนวนนี้ 4 ลูกพัฒนาเป็นถึงพายุไต้ฝุ่นรุนแรง พายุลูกแรกที่ได้รับชื่อของฤดูนี้ชื่อว่า ปาข่า ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ส่วนพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกสุดท้ายของฤดูนี้ชื่อว่า อู๋คง สลายตัวไปเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม โดยฤดูนี้มีกิจกรรมของพายุอย่างมากในระหว่างกลางเดือนกรกฎาคม ถึงกลางเดือนสิงหาคม ซึ่งมีพายุถึง 9 ลูกที่ได้รับชื่อในช่วงดังกล่าวพายุบิเซนเตเป็นพายุที่ทรงพลานุภาพ และได้พัดขึ้นฝั่งทางตะวันตกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ในฐานะพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง พายุด็อมเร็ยก่อตัวเป็นพายุไต้ฝุ่นในทะเลเหลือง และกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่พัดขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของแม่น้ำแยงซี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 พายุไต้ฝุ่นไห่ขุยถึงแม้ว่าศูนย์กลางของพายุจะอยู่ห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ออกไป แต่ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิตได้อย่างน้อย 89 คนในประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนพายุไต้ฝุ่นเท็มบิง ส่งผลกระทบกับประเทศไต้หวันถึงสองครั้ง เนื่องจากเกิดวังวนพายุหมุนขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พายุไต้ฝุ่นทรงพลังมากสามลูก อันได้แก่ บอละเวน, ซันปา และ เจอลาวัต พัดเข้าโจมตีเกาะโอกินาวาโดยตรงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนตุลาคม เศษที่หลงเหลือของพายุโซนร้อนกำลังแรงแคมี เคลื่อนตัวไปถึงบริเวณอ่าวเบงกอล และกลับทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วอีกครั้ง ก่อนจะพัดขึ้นฝั่งที่ประเทศบังกลาเทศต่อไป ในเดือนธันวาคม พายุไต้ฝุ่นบบพา เป็นพายุที่ก่อตัวในละติจูดที่ต่ำมาก ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่มันเป็นได้ถึงพายุหมุนเขตร้อนที่มีพลังมาก เป็นผลให้เกิดภัยพิบัติขึ้นในเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ พายุบบพาทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 1,901 คน และสร้างความเสียหายถึง 1.04 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในประเทศฟิลิปปินส์ กลายเป็นพายุที่ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดทั่วโลกในปี พ.ศ. 2555 และเป็นพายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ของฟิลิปปินส์ เป็นรองจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในปีถัดไปเท่านั้นขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 2,487 คน
• ความกดอากาศต่ำที่สุด 900 hPa (มิลลิบาร์)
พายุโซนร้อนทั้งหมด 25 ลูก
• ลมแรงสูงสุด 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
พายุไต้ฝุ่น 14 ลูก
ชื่อ ซันปา
ความเสียหายทั้งหมด 2.07 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2012)
(สถิติความเสียหายมากที่สุดเป็นอันดับสอง
ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 35 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 13 มกราคม พ.ศ. 2555
ระบบสุดท้ายสลายตัว 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 4 ลูก (ไม่เป็นทางการ)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2564 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555 http://www.bom.gov.au/climate/tropnote/tropnote.sh... http://www.radioaustralia.net.au/international/201... http://weather.news.sina.com.cn/news/2012/0724/042... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/21/12... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/29/12... http://www.ajc.com/news/ap/international/2-chinese... http://www.aljazeera.com/news/asia/2012/08/2012820... http://www.asiaone.com/News/AsiaOne+News/Asia/Stor...